ประเพณีแห่บุญออกพรรษา

ประเพณีแห่บุญออกพรรษา

ประเพณีแห่บุญออกพรรษา

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ ๓ เดือน และถัดจากออกพรรษา ๑ เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง ๓ เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ “วันออกพรรษา” ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด ๓ เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “วันมหาปวารนา”
เดิมประเพณีนี้เป็นประเพณีของไทยอีสานดั้งเดิมซึ่งสืบทอดกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และเป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมีความเชื่อตามพุทธประวัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในระหว่างเข้าพรรษาและได้เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนต่างปิติยินดีในจริยวัตรของพระพุทธองค์ จึงได้ปฏิบัติกิจกรรมไต้ประทีปโคมไฟ โดยที่ประชาชนตลอดจนภิกษุสามเณรต่างพากันจุดประทีปโคมไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สมัยนั้นโคมไฟไม่ค่อยจะมีใช้ ต้องใช้ลูกตูมกา ลูกฟักเหลือง ลูกส้มโอโต ๆ มาควักเอาเมล็ดในออกให้หมด ขูดผิวข้างนอกและเยื่อข้างในออกให้บางโปร่ง แล้วนำน้ำมันที่ทำมาจากเมล็ดมะเยา หมากบก หรือน้ำมันมะพร้าวเทลง ฟั่นฝ้ายเป็นรูปตีนกาเอามาทำไส้ วางไว้ตรงกลางสำหรับจุดลอยอยู่นั้น พร้อมทั้งมีหูหิ้วสำหรับแขวนบนต้นไม้ต่าง ๆ ในภาพนี้เป็นการปล่อยโคมของพระสงฆ์และฆราวาสในวัดชัยภูมิวนาราม

Scroll to Top