ป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

สายธารน้ำและป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

สายธารน้ำและป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 23 ของประเทศ ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นลานหินกว้างใหญ่และสวยงาม มีแนวเทือกเขาที่เป็นหินปูนและหินดินดานในแนวเทือกเขาภูแลนคา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าเต็งรังที่เป็นต้นน้ำลำห้วย เป็นน้ำตกหลายแห่งที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเสมอ
อุทยานแห่งชาติตาดโตน ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงระหว่าง 200 – 945 เมตร จากระดับ น้ำทะเลปานกลาง ดังนั้น สภาพสังคมพืชจึงแตกต่างไปตามระดับความสูง พอจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาดโตน พบป่าชนิดนี้ขึ้นกระจัดกระจาย มีเนื้อที่ประมาณ 94.93 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ร้อยละ 43.71 ของพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ ความสูงของเรือนยอด ชั้นบนประมาณ 15 – 20 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญในชั้นนี้ ได้แก่ ยางพลวง รัง แดง ตะแบกเลือด มะกอกเกลื้อน ก่อแพะ และมะค่าแต้ ส่วนเรือนยอดในชั้นรอง มีไม้ขนาดเล็กมีความสูงประมาณ 5 – 10 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญในชั้นนี้ได้แก่ ชิงชัน ตาลเหลือง ยอเถื่อน กระท่อมหมู มะม่วงป่า ติ้วแดง และขว้าว ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ลูกไม้ของไม้ชั้นบนเป็นส่วนใหญ่ และหญ้าเพ็กขึ้นอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ชนิดอื่น เช่น กระดูกอึ่ง ลูกใต้ใบ เฟิร์น หมักหม้อ นางนวล กาวเครือ และหนอนตายหยาก เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีพื้นที่ 148 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านเขว้า หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่ไหลลงสู่แม่น้ำชี มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลากหลายทั้งหน้าผาสันเขา ลานหินและก้อนหินรูปร่างแปลก ๆ รวมทั้งพืชพรรณที่น่าสนใจ เหมาะมาเที่ยวชมในระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ทางอุทยานฯได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของอุทยานฯ ได้แก่ ป่าหินงามจันทร์แดง, ภูคี, ภูเกษตร, ภูอ้ม ภูคล้อ ภูกลาง, ทุ่งดอกกระเจียว, จุดชมวิวลานหินร่องกล้า, จุดชมวิวป่าหินปราสาท, ผาแเพ, ประตูโขลง, ผากล้วยไม้, ถ้ำพระและถ้ำเกลือ, น้ำตกตาดโตนน้อย, เขาขาดและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ซึ่งมีก้อนหินแปลก ๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ ป่าหินงามปราสาท ป่าหินงามหงส์ฟ้า และแนวหน้าผาซึ่งเป็นจุดชมวิวสวยงาม ยามถึงปลายฤดูฝนจะมีแสงเช้าต้องกับหมอกสวยงามให้ได้ชมกันเป็นครั้งคราว
จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 ประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 2159 ทางไปหนองบัวแดงอีก 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการ อุทยานฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ มีรถสองแถวสายชัยภูมิ-หนองบัวแดง วิ่งผ่านหน้าที่ทำการ อุทยานฯ

ประเพณีลอยกระทงจังหวัดชัยภูมิ

ประเพณีลอยกระทงจังหวัดชัยภูมิ
ประเพณีลอยกระทงจังหวัดชัยภูมิ

ประเพณีลอยกระทงจังหวัดชัยภูมิ

จังหวัดชัยภูมิก็มีการจัดประเพณีลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่สวยงาม ไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เช่นกัน ทุกๆ ปีในวันเพ็ญเดือนสิงสอง ทางจังหวัดชัยภูมิจะจัดงานประเพณีลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี โดยสถานที่ที่จัดงานมีอยู่ 2 แห่ง คือ บริเวณสระเทศบาลเมืองชัยภูมิ ถนนสนามบิน และอีกแห่งคือบริเวณสวนสาธารณะหนองปลาเฒ่า ติดศาลเจ้าพ่อพญาแล วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีซึ่งจะอยู่ในช่วงคืนวันพระจันทน์เต็มดวงของเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง ที่มาของวันลอยกระทงนั้นไม่มีการระบุแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าเป็นประเพณีนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยแต่เดิมนั้นเรียกกันว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “พิธีลอยพระประทีป” โดยได้มีการบันทึกงานพิธีนี้ไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าเป็นงานสมโภชครั้งใหญ่แห่งปี แต่เดิมนั้นพิธีการลอยกระทงกระทำโดยการลอยโคมขึ้นสู่ฟ้า แต่ต่อมาในสมัยพระร่วง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในนาม “นางนพมาศ” พระสนมเอก ได้เป็นผู้คิดค้นการประดิษฐ์กระทงดอกบัวจากดอกไม้และใบตองแทนการลอยโคม ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับการลอยกระทงนั้นมีอยู่หลายความเชื่อ เช่น เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพื่อบูชาพระอุปคุต เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานทีในนาคพิภพ และเพื่อสืบต่อประเพณีโบราณที่หล่อหลอมใจชาวเมืองเข้าไว้ด้วยกัน สำหรับชัยภูมิทุกๆ ปี จะมาการจุดพลุอย่างสวยงาม พร้อมด้วยการออกร้าน และประกวดนางนพมาศ

พระธาตุปรางค์กู่

พระธาตุปรางค์กู่

พระธาตุปรางค์กู่ เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ที่ ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีฐานสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง วางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล (โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน
พระปรางค์กู่ ถูกสร้างโดย “พระไภษชัยคุรุไวฑูรย์ประภา” เมื่อ พ.ศ. 1724 – พ.ศ. 1763 หรือพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยเจนละ ขณะที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ โดยสร้างเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง มีประตูเข้าทางทิศตะวันออก มีกำแพงรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบ ภายในพระปรางค์กู่ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นประดิษฐานอยู่ มีเศียรเทวดาอิทธิพล ศิลปะขอมทับหลังที่กรอบประตูสลักเป็นรูปไตรรัตนมหายาน มีความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทรงมีความรู้การแพทย์ ทำให้ประชาชนมีความสุขและไม่มีโรค
เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่ เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. 1724-1763
ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นที่เคารพของคนในจังหวัดชัยภูมิเป็นอย่างสูงอีกด้วย
ปรางค์กู่เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเหมือนกับโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือ มีองค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมต ร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
การเดินทาง ตั้งอยู่ที่ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเถอเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวงหมายเลข 2158 เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยจะเห็นวัด (ศาสนสถาน)ชื่อว่าวัดปรางค์กู่

งานประจำปีเจ้าพ่อพระยาแลและงานกาชาดจังหวัดชัยภูมิ

เจ้าพ่อพระยาแล
งานประจำปีเจ้าพ่อพระยาแล

งานประจำปีเจ้าพ่อพระยาแลและงานกาชาดจังหวัดชัยภูมิ


หรือเรียกกันทั่วไปว่า งานเจ้าพ่อพระยาแล โดยทุกปีจะกำหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 12 – 20 มกราคม 2560 ณ บริเวณอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล และสนามหน้าศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย พิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อพญาแล พิธีถวายช้างแด่เจ้าพ่อพญาแล ขบวนแห่สุดยิ่งใหญ่อลังการ การออกร้านและจัดนิทรรศการของภาครัฐและเอกชน การแสดงต่าง ๆ ในภาคกลางคืน การแสดงและจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น OTOP และร่วมลุ้นรางวัลในร้ายกาชาดจังหวัดชัยภูมิ ตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืน และเวทีกลางมีกิจกรรมการแสดง ในงานได้กำหนดให้มีการประกวดการแสดงสุดยอดเมืองชัยภูมิ ในงานเจ้าพ่อพญาแล กำหนดจัดการแสดง ในวันที่ 12 มกราคม 2560 ณ เวทีกลาง เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนทุกอำเภอ ได้มีเวทีแสดงความสามารถในทางที่ถูกต้อง เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดชัยภูมิ กิจกรรมในงานที่ถือว่าพลาดไม่ได้เลย คือ พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าพ่อฯ พิธีถวายช้างแด่เจ้าพ่อพระยาแล ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 จนถึงปัจจุบัน การจัดพิธีถวายช้างเป็นการถวายช้างจริง จำนวน 9 เชือก โดยให้ผู้ที่ถวายช้างใช้ตะขอถวายช้างแด่เจ้าพ่อพระยาแล จากนั้นจะมีขบวนแห่รำถวายเจ้าพ่อฯ อย่างสวยงามและยิ่งใหญ่จากชาวชัยภูมิที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธา
“พระยาภักดีชุมพล (แล)” หรือที่ชาวชัยภูมิเรียกกันว่าเจ้าพ่อพระยาแล (พญาแล) เป็นผู้ตั้งเมืองชัยภูมิและเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก แม้ท่านจะเป็นชาวเวียงจันท์ แต่ก็มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แห่งเมืองสยาม ดังเมื่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันท์ก่อการกบฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาภักดีชุมพลพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโมตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาแลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เกิดความแค้น จับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาบริเวณนี้ได้จัดสร้างเป็น “ศาลเจ้าพ่อพระยาแล” ที่ชาวชัยภูมิให้ความเคารพ อีกทั้งบริเวณวงเวียนกลางเมืองชัยภูมิก็ยังมีอนุสาวรีย์ของท่านตั้งอยู่ด้วย จนถึงปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ถือว่าครบรอบ 195 ปีของการก่อตั้งเมืองชัยภูมิอีกด้วย

ทุ่งดอกกระเจียว

ทุ่งดอกกระเจียว
ทุ่งดอกกระเจียว

ทุ่งดอกกระเจียว

เมื่อนึกถึงดอกกระเจียวแล้ว ก็ต้องที่ จ.ชัยภูมิ เพราะความสวยงามของดอกกระเจียวหลายหลากลายพันธ์ มีสีชมพู สีม่วง สีขาว เมื่อได้เห็นแล้วทำให้รู้สึกสดชื่น การเดินทางสะดวก ที่พักก็มีมากมายและไม่ไกลจากกรุงเทพฯ อีกด้วย สำหรับพักผ่อนสมองในวันหยุดกับท่องเที่ยวสำหรับคนที่รักธรรมชาติและแนวผจญภัย ดอกกระเจียว ที่ จ.ชัยภูมิ จะบานในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคมของทุกปี และบานเยอะที่สุดประมาณเดือนสิงหาคม มีหลายสีสันสวยงามบานสะพรั่งเต็มทุ่งหญ้าเขียวขจี แบ่งอกเป็น 2 ทุ่งใหญ่ๆ คือ

ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็นทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่องเที่ยวที่นี่การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือดอกกระเจียว ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม ออกดอกสีชมพูอมม่วง ที่จะ ทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่า 

ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทอง ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติไทรทอง เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่บริเวณสันเขาพังเหย ทางทิศตะวันตก ในเขตพื้นที่ของอำเภอ หนองบัว ระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง ชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 319 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 199,375 ไร่ ช่วงเทศกาลดอกกระเจียวบานทุ่งดอกกระเจียวที่นี่จะบานช้ากว่า อุทยานแห่งชาติ ป่าหินงาม เมื่อเที่ยว ทุ่งดอกกระเจียว ที่ป่าหินงามใน ช่วงเเดือนมิ.ย.-ก.ค. แล้ว ยังมาเที่ยวที่ทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทองได้อีกในช่วง ก.ค.-ส.ค. เป็นทุ่งดอกกระเจียวอีก 1 แห่ง ของ จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ว่าเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่ มีทุ่งดอกกระเจียว เบ่งบานชูช่ออยู่หลายทุ่ง ด้วยกัน นอกจากดอกกระเจียวสีชมพูที่เราจะได้เห็นกันแล้วยังมี ทุ่งดอกกระเจียวขาว ให้เราได้ชมอีกด้วย การเดินทาง สำหรับทุ่งดอกกระเจียวป่าหินงามนั้น เดินทางจากกรุงเทพฯ เดินทางได้ 2 ทาง แนะนำให้ไปตามเส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี ถนนหมายเลข 1 ระยะทางประมาณ 283 กม. ขับรถตรงไปเรื่อยๆ เมื่อถึงทางแยกพุแค เบี่ยงขวาเล็กน้อย ไปทาง ต.ชัยนารายณ์ ถนนหมายเลข 21 จากนั้นเลี้ยวขวา เข้าสู่ถนนหมายเลย 2129 ขับรถไปอีกประมาณ 1.4 กม. ถึงทางแยกลำนารายณ์ เลี้ยวซ้าย ถนนหมายเลย 205 ผ่าน อ.ลำสนธิ ขับรถไปเรื่อยๆ เมื่อถึง อ.เทพสถิต ให้เลี้ยวซ้าย ไปทางถนนหมายเลข 2354 อีก 17.3 กม.จะถึงแยกเลี้ยวซ้าย ขับตรงไปเรื่อยๆ อีก 12 กม. ก็จะถึงแล้วอุทยาน แห่งชาติป่าหินงาม

สำหรับการเดินทางไปทุ่งดอกกระเจียวไทรทองนั้น ที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 70 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหนอง บัวระเหว ประมาณ 37 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายชัยภูมิ – นครสวรรค์ จะมีทางแยก ขวามือเข้าไปน้ำตกไทรทองอีก 7 กิโลเมตร จากอุทยานแห่งชาติไทรทองต้องขับรถเข้าไปถึงจุดเริ่มเดินเท้า ซึ่งรถ ที่ขับเข้าไปได้ต้องเป็นรถกระบะเท่านั้น หากใครนำรถเก๋งเข้ามาก็จอดไว้ที่ทำการอุทยานแล้วติดต่อรถกระบะ ที่ทางอุทยานเตรียมไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว

ร้าน OK Espresso

OK Espresso,
เมนูเด็ด :
เครื่องดื่ม กาแฟวานิลา คาปูชิโน่ ชาเขียวเย็น เผือกเย็น โยเกริต์สตรอเบอรี
ขนม เครปเค้ก ชีสโทส ไอศครีมโรตี ฮั่นนี่โทส
บรรยากาศ : ที่ร้านร่มรื่นด้วยต้นไม้ ถ้าหากชอบบรรยากาศธรรมชาติ แนะนำนั่งระเบียงด้านนอก จะได้บรรยากาศเย็นสบาย ด้านในเป็นห้องแอร์

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย: สุรวุฒิ สุดหา (YIM PhotoArt Studio) สำรวจข้อมูล ณ – พ.ย. 2559
ร้านกาแฟ OK Espresso
ชื่อร้าน OK Espresso
ที่ตั้ง
เลขที่ ถนน ชัยประสิทธิ์
ตำบล ในเมือง
อำเภอ เมือง
จังหวัด ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์ 044-817444
มือถือ
E-mail
Line ID
ชื่อเว็บไซต์ของร้าน
สโลแกนของร้าน ” กาแฟรสชาดดี มีคนรู้ใจ เท่านี้ก็โอเค “

ร้านตั้มคอฟฟี่

ตั้มคอฟฟี่, กาแฟเข้ม หอม นุ่ม กลมกล่อม
เมนูเด็ด : อเมริกาโน่เย็น ฟองนมนุ่ม กาแฟหอม รสชาดกลมกล่อม

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย: สุรวุฒิ สุดหา (YIM PhotoArt Studio) สำรวจข้อมูล ณ – พ.ย. 2559
ร้านกาแฟ ตั้มคอฟฟี่
ชื่อร้าน ตั้มคอฟฟี่
ที่ตั้ง 69/6
เลขที่ ถนน ชัยประสิทธิ์
ตำบล ในเมือง
อำเภอ เมือง
จังหวัด ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์
มือถือ  083-1252123
E-mail
Line ID
ชื่อเว็บไซต์ของร้าน
สโลแกนของร้าน

ร้าน Marscury

Marscury, (… รอข้อมูลดีๆจากทางร้าน… )

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย: สุรวุฒิ สุดหา (YIM PhotoArt Studio) สำรวจข้อมูล ณ – พ.ย. 2559
ร้านกาแฟ Marscury
ชื่อร้าน Marscury
ที่ตั้ง 53/6
เลขที่ ถนน สหกรณ์ชัยภูมิ  ซอย 4
ตำบล ในเมือง
อำเภอ เมือง
จังหวัด ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์
มือถือ  094-9975406
E-mail Getprin@hotmail.com
Line ID  Get prin
ชื่อเว็บไซต์ของร้าน
สโลแกนของร้าน  ” Every day is Coffee day “

ร้าน Nana Cafe Chaiyaphum

Nana Cafe Chaiyaphum, (… รอข้อมูลดีๆจากทางร้าน… )

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย: สุรวุฒิ สุดหา (YIM PhotoArt Studio) สำรวจข้อมูล ณ – พ.ย. 2559
ร้านกาแฟ Nana Cafe Chaiyaphum
ชื่อร้าน Nana Cafe Chaiyaphum
ที่ตั้ง 488
เลขที่ ถนน เลี่ยงเมือง (บายพาส)
ตำบล ในเมือง
อำเภอ เมือง
จังหวัด ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์ 044-811141
มือถือ
E-mail Fawn.fortunate@gmail.com
Line ID  –
ชื่อเว็บไซต์ของร้าน
สโลแกนของร้าน  –