ใบเสมาหินทรายบ้านกุดโง้ง

ใบเสมาหินทรายบ้านกุดโง้ง

ใบเสมาหินทรายบ้านกุดโง้ง

เสมาหินที่พบในภาคอีสานนี้ถือเป็นโบราณวัตถุที่แสดงถึงความเป็นชุมชนสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิหินยานเผยแผ่เข้ามา โดยใบเสมาเหล่านี้ใช้ปักเพื่อกำหนดเขตในการทำพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ดังเช่น “ใบเสมาบ้านกุดโง้ง” หมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะคล้ายเกาะ มีลำน้ำประทาวล้อมรอบ พื้นที่ราบส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา ในบริเวณนี้ได้มีการขุดพบเสมาหินทรายขนาดใหญ่เป็นกลุ่มๆ ปักอยู่ทั่วไปทั้งในบริเวณตัวเมืองและบริเวณเนินดินและในทุ่งนารอบๆ ตัวเมือง ซึ่งใบเสมาเหล่านี้อาจกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 เลยทีเดียว
ใบเสมาเหล่านี้เป็นใบเสมาที่ทำด้วยหินทรายแดง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ บางชิ้นมีความสูงกว่า 2 เมตร ด้านบนมีปลายแหลม มีทั้งเสมาแบบเรียบๆไม่มีลวดลาย และแบบสลักลวดลายเป็นภาพต่างๆ เช่นบางใบมีลวดลายสลักรูปดอกบัว รูปสถูป ภาพบุคคลเช่นภาพพระพุทธเจ้า ภาพพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตย บ้างก็เป็นภาพเล่าเรื่องในชาดกและคติธรรมทางพุทธศาสนา เช่น เรื่องพระเวสสันดร เรื่องมโหสถชาดก เตมียชาดก ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์เป็นต้น
ปัจจุบันชาวบ้านได้นำเอาเสมาหินที่รวบรวมได้จากบริเวณต่างๆ มารวมไว้ภายในศาลาวัดและโรงเรียนบ้านกุดโง้ง รวมทั้งหมดกว่า 30 ชิ้น และอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร แต่ก็ยังมีใบเสมาหินอีกหลายสิบชิ้นที่ยังฝังอยู่ตามทุ่งนาบ้าง ตามคันดินบ้าง และเชื่อกันว่าบริเวณบ้านกุดโง้งยังมีโบราณวัตถุอีกมากมายที่ถูกฝังอยู่และยังไม่ได้รับการขุดค้น

วัดสระหงษ์

วัดสระหงษ์

วัดสระหงษ์

วัดสระหงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเสียว ห่างจากตัวเมือง 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2051 มีทางแยกเข้าทางเดียวกับไปอ่างเก็บน้ำช่อระกา บริเวณวัดเป็นลาดหินเนินเขา มีหินก้อนหนึ่งรูปร่างคล้ายหงส์ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถัดจากศาลาวัดไปด้านหลังมีสระน้ำโบราณกว้างประมาณ 10 เมตร มีน้ำตลอดปีห่างจากตัวเมืองชัยภูมิไปทางทิศเหนือ ประมาณ 12 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 2051ทางด้านซ้ายมือ (ทางแยกเข้าอ่างเก็บน้ำช่อระกา) เป็นสระโบราณอยู่กลางเนินเขา เตี้ย ๆ กว้างประมาณ 5 วา ห่างจากสระนี้ประมาณ 3 เมตร

หนองไม้ตายวัดปราสาทดิน

หนองไม้ตายวัดปราสาทดิน

หนองไม้ตายวัดปราสาทดิน

หนองไม้ตายวัดปราสาทดิน เป็นบึงหนองน้ำอยู่บริเวณปากทางเข้าวัดปราสาทดิน อ.ภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ลักษณะเป็นหนองน้ำจืดขนาดย่อมที่มีต้นไม้ตายยืนต้นจำนวนมากอย่างสวยงาม มีทิวทัศน์ด้านหลังเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจหรือถ่ายภาพมาก

วัดปราสาทดิน

วัดปราสาทดิน

วัดปราสาทดิน

วัดปราสาทดินตั้งอยู่ที่ บ้านคลองจันลา ต.บ้านเจียง อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ ก่อนถึง วัดถ้ำวัวแดง ปราสาททำด้วยดินอัด ออกแบบสวยงาม มองเห็นเด่นชัดเจน เพราะมีสีสันโดดเด่นเป็นอักลักษณ์ หลวงพ่อพระเทพภาวนาวิกรม เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิได้ก่อสร้างไว้เป็นที่ ปฏิบัติธรรม บรรยากาศภายในวัด เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ยอดปราสาทสามารถมองเห็นทิวเขารอบๆ

วัดพระพุทธบาทภูแฝด

วัดพระพุทธบาทภูแฝด

วัดพระพุทธบาทภูแฝด

วัดพระพุทธบาทภูแฝด ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 23 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับวัดศิลาอาสน์ ภูพระ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-แก้งคร้อ) เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีรอยพระพุทธบาทในก้อนหิน คล้ายพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ทางเข้าวัดทั้งสองข้างทางมีต้นไม้เรียงรายตลอดแนว นอกจากนี้ โดยผู้ที่สนใจสักการะศาสนสถาน ในจังหวัดชัยภูมิยังมีอีกหลายแห่งด้วยกันคือ พระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่บนลานหินยอดภูเขายายหอม ในเทือกเขาพังเหย ในบริเวณวัดพระพุทธบาทเขายายหอม ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต พบเมื่อปี พ.ศ.2412 เป็นรอยพระพุทธบาทข้างซ้าย ประทับลึกลงไปในลานหินสีแดง ขนาดกว้าง 75 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร ลึก 45 เซนติเมตร ปลายรอบพระพุทธบาทหันเยื้องไปทางทิศอาคเนย์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเทพสถิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 65 กิโลเมตร
พระธาตุหนองสามหมื่น ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุหนองสามหมื่น บ้านแก้ว ตำบลบ้านแก้ว อำเภอภูเขียว เป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน ย่อมุมไม้สอบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณ 13.30 เมตร มีบันไดทางขึ้นสามด้าน บันไดกว้างประมาณ 4.90 เมตร มีห้าขั้น มีลานทักษิณรอบองค์เจดีย์ ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียง รอบรังฐานบัวขององค์เรือนธาตุ เป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นลวดบัวคั่นกลางองค์เรือนธาตุบนมีซุ้มจรนำอยู่ทั้งสี่ทิศ ภายในซุ้มจรนำด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง เช่นเดียวกับทิศตะวันตก ส่วนซุ้มด้านทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลักษณะพุทธศิลป์มีอิทธิพลของศิลปะล้านช้างปะปนอยู่ทั้งส่วนพระพักตร์ และเครื่องทรง เหนือเรือนธาตุทำย่อเก็จไม้ยี่สิบ มีสถูปขนาดเล็กอยู่ทั้งสี่ทิศ ส่วนยอดเจดีย์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางป่องออกเล็กน้อย ยอดปลายเรียว สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22

พระเจ้าองค์ตื้อ

พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ)

พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ)

ภูพระ อยู่ในบริเวณวัดศิลาอาสน์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 201 เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีโบราณวัตถุ คือ รอยสลักหินเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” อยู่ในเขต ท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ
พระเจ้าองค์ตื้อ มีลักษณะพระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่ พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต เรียกว่า รอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ ฐานว่าอาจจะสร้าง ในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ( ราว พ.ศ. 1701 – พ.ศ. 1900 )
ทุก ๆ ปี จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ขึ้นไปกราบไหว้พระเจ้าองค์ตื้อ ในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสว่า “หมอรักษาเป็นหมอลำ” ให้การรักษาคนป่วย ขอให้หาย โดยบนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อจะได้สมความปรารถนา ในปี พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัด ชัยภูมิ ( พระครูจรูญ นิโรธ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ขณะนั้นได้ขอตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “ศิลาอาสน์” ) และปรับปรุงบริเวณสถานที่ ในปีต่อมาได้สร้างกุฏิ พระภิกษุได้จำพรรษอยู่ประจำมาตลอดจนทุกวันนี้

อรุณธรรมสถาน พระธาตุชัยภูมิ

อรุณธรรมสถาน พระธาตุชัยภูมิ

อรุณธรรมสถาน พระธาตุชัยภูมิ

วัดอรุณธรรมสถาน พระธาตุชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมในการดำริของ พระธรรมสิริชัย เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ 13 ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2550 บนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ ซึ่งศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมิ ที่ถูกสร้างขึ้นตามแบบแผนการสร้างพระเจดีย์แบบโบราณ โดยมีเค้าโครงจากการผสมผสาน ระหว่างศิลปะล้านช้าง กับล้านนา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท เรือนยอด มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืนศิลปะแบบล้านช้างความสูงของเจดีย์จากฐานถึงยอด 21 เมตร โดยเจตนาในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมินี้ เพื่อต้องการให้เป็นศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.ชัยภูมิ เนื่องจากตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา แม้ว่า จ.ชัยภูมิจะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี ขอม อยุธยา ล้านช้าง และรัตนโกสินทร์ แต่ยังขาดรูปแบบศิลปกรรมที่ชัดเจน ทั้งนี้ สถานที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติธรรมอรุณธรรมสถาน ที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวของจ.ชัยภูมิ คือเส้นทางที่จะเดินทางไปมอหินขาว และน้ำตกตาดโตน ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่สำคัญยังเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระมหาธาตุเจดีย์สิริชัยภูมิ

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)

อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล จ.ชัยภูมิ เป็นอนุสาวรีย์อนุสรณ์สถานแด่พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ”แล” เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก
ใน พ.ศ. 2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2367 ได้ที่การพบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพลจึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า เมืองไชยภูมิ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองไชยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวง(เมืองไชยภูมิ)เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก สร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏต่อกรุงเทพเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช โดยยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา แต่เห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด จึงเผาเมืองนครราชสีมาทิ้ง[ต้องการอ้างอิง] และถอนทัพกลับไปตั้งรับที่เวียงจันทน์ ระหว่างทางกองทัพเจ้าอนุวงศ์เกิดความปั่นป่วนจากการลุกฮือของครัวเรือนที่กวาดต้อนไปเวียงจันทน์ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสำริด พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้ยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโมและครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายไทยตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ จับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่านต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า “เจ้าพ่อพญาแล” และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ – บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า “ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)” และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า “งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล” ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ ลูกหลานของพระยาภักดีชุมพล (แล) ที่ได้รับราชการเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศและบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาภักดีชุมพลทุกคน รวมทั้งสิ้น 5 คน ส่วนเจ้าพ่อพญาแลได้เป็นพระยาภักดีชุมพลได้ 4 ปี เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง 10 ปี
การเดินทาง หากเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 201 วิ่งจนเข้าตัวเมืองชัยภูมิก็จะพบกับอนุสาวรีย์บริเวณสี่แยกถนนบรรณาการตัดกับถนนหฤทัย

วัดชัยภูมิวนาราม

พุทธสถานและอุโบสถ วัดชัยภูมิวนาราม

พุทธสถานและอุโบสถ วัดชัยภูมิวนาราม

วัดชัยภูมิวนาราม เป็นสถาบันที่ดำเนินงานอยู่ภายใต้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตั้งอยู่ในตำบลโนนสมอ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ บนถนนสายชัยภูมิ-ตาดโตน ออกจากตัวเมืองมาเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากวัดจะเป็นที่ประกอบกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายอย่างแล้ว ภายในบริเวณวัดได้มีการปรับปรุงเป็นพุทธสถานที่สวยงาม เหมาะแก่การเข้าชม เก็บภาพด้วยเช่นกัน อาทิเช่น พุทธสถานกลางแจ้งที่มีพระพุทธรูปสีขาวขนาดใหญ่ ที่มีการจัดสวนหย่อมให้พักผ่อนหย่อนใจหรือประกอบกิจกรรมเวียนเทียนได้อย่างสวยงาม รวมถึงมีพระอุโบสถใหม่ขนาดใหญ่ที่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึงอย่างสวยงาม

พระธาตุเจดีย์วัดแก้วฟ้าจุฬามณี

พระธาตุเจดีย์วัดแก้วฟ้าจุฬามณี

พระธาตุเจดีย์วัดแก้วฟ้าจุฬามณี

ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดบ้านหนองแวง ต.ซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่น้อยคนจะทราบว่ามีอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ด้านในประดิษฐานพระพุทธศาสดาแลนคาโลกนาถไว้ในชั้นที่ 1 ซึ่งหล่อด้วยทองเหลืองรมดำ สูง 6.49 เมตร สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสาริกธาตุ (ส่วนเกศาธาตุ) ที่พระหลวงปู่บุญมา ถาวโร ได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ขณะท่านธุดงค์ปฏิบัติธรรมอยู่ที่ประเทศอินเดียเมื่อ 70 กว่าปีที่ผ่านมา งานก่อสร้างพระธาตุเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2545 องค์พระธาตุสูง 25.45 เมตร
ทำไมพระบรมสารีริกธาตุ(ส่วนเกศาธาตุ) จึงให้ปู่หลวงบุญมา นำเอามาสร้างพระธาตุเจดีย์ตรงนี้ ก็เพราะว่าสถานที่แห่งนี้องค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จมาสร้างปูชนียวัตถุและปูชนียสถานสืบต่อเนื่องกันมาทุกๆ พระองค์ แต่เมื่อถึงกาลเวลาก็เสื่อมสลาย บุบสลาย ยุบพังตามกาลเวลาของโลกธาตุ สำหรับตถาคตองค์พระสมณโคดม ได้เคยเสด็จมากับพระอานนท์ พระอรหันต์ 500 รูป มากับพระมหากัสปะเถระเจ้าในอดีต ได้พยากรณ์ไว้ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเจริญรุ่งเรือง หลังกึ่งพุทธกาลล่วงแล้ว จะมีผู้มีบุญญาธิการมาทำนุบำรุงสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป หลังจากนั้นก็ได้มีหลวงปู่เทพโลกอุดร หลวงปู่ละมัย หลวงปู่บุญมา ได้มาดูแลสถานที่แห่งนี้ก่อนแล้วหลายครั้ง หลวงปู่เทพโลกอุดรจึงได้ให้หลวงปู่บุญมา ธุดงค์รอนแรมไปยังประเทศอินเดีย เพื่อไปรับพระบรมสารีริกธาตุ(ส่วนพระเกศาธาตุ) ซึ่งพระอินทร์ได้อัญเชิญมาจากชั้นดาวดึงส์ (พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี) โดยแบ่งมาส่วนหนึ่ง แล้วมอบไว้กับพระอรหันต์รูปหนึ่งในอินเดียขณะนั้น รักษาไว้ให้หลวงปู่บุญมา เมื่อเดินทางมาถึงและปฏิบัติธรรมอยู่ช่วงหนึ่ง เพื่อนำกลับประเทศไทย และเมื่อถึงเวลาอันควร ก็ให้สร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุไว้ เพื่อให้เทพเทวา มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายได้กราบไหว้สักการะบูชาสืบทอดพระพุทธศาสนาสืบต่อจนถึงยุคพระศรีอริยเมตตรัย และรอบๆ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีที่กำลังสร้างอยู่จะเป็นบ้านเมืองที่มีศีลมีธรรม น้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์ ฝนฟ้าจะตกตามฤดูกาล กษัตราธิราชทั่วทุกมุมโลกก็จะได้เดินทางมานมัสการพระธาตุองค์นี้เป็นลำดับไป พุทธศาสนิกชนทั่วไปก็จะทยอยกันมากราบไหว้สักการะบูชาและปฏิบัติธรรมมากขึ้นเป็นลำดับๆไป
พระอริยเจ้าทั้งหลายทั่วทั่งประเทศไทยและทั่วมุมโลก จะหมุนเวียนกับมาปฏิบัติธรรมมิได้ขาดสาย จะมีพระผู้มีบุญญาธิการมาช่วยดูแลรักษาต่อ ๆ ไปหลายองค์ ขณะนี้หลวงปู่ละมัย ดูแลอยู่ และเมื่อถึงเวลาอันควรก็จะมีองค์อื่นๆ หมุนเวียนกันมาดูแลต่อ ๆ ไป หลวงปู่เทพโลกอุดรยังดูแลตลอด ตามที่ท่านอธิษฐานดูแลพระพุทธศาสนาไว้ทุกกาลทุกเมื่อ เนื่องจากหลวงปู่บุญมา ถาวโร อายุ 108 ปี 83 พรรษา อดีตเจ้าอาวาสวัดแกนคงคาวนาราม บ้านหนองแวง หมู่ที่ 3 ตำบลซับสีทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาจากประเทศอินเดีย มาเก็บรักษาไว้ เมื่อ 70 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับเมื่อปี พ.ศ. 2545 หลวงปู่บุญมา ถาวโร ท่านก็ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงปรารภว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะได้ร่วมกันสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังกล่าว เพื่อให้เทพเทวาและมนุษย์ทั้งหลายได้สักการะบูชา ตลอดทั้งสัตว์โลกทั้งปวง เพื่อเป็นศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน ทางคณะสงฆ์วัดแดนคงคาวนาราม คณะกรรมการวัด คณะกรรมการก่อสร้างพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พ่อค้าประธาน จึงได้ร่วมกันทำโครงการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้น โดยหลวงปู่บุญมา ถาวโร ให้ชื่อเรียกพระธาตุเจดีย์นี้ว่า พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี มีฐานกว้าง 5.50 เมตร สูง 25.45 เมตร ไม่รวมยอดฉัตร ดำเนินการก่อสร้างโดย คณะกรรมการก่อสร้างพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ได้กระทำพิธืวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 19 มกราคม 2545 หลวงปู่ บุญมา ถาวโร เป็นประธานในพิธี