ตาดร้อยรู

ตาดร้อยรู

ตาดร้อยรู

ตาดร้อยรูตั้งอยู่ที่บ้านตาด ต.ตลาดแร้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำตกแก่งหินที่มีรูตามก้อนหินเป็นจำนวนมากตามชื่อ ถ้ามาเที่ยวถูกช่วงจังหวะเวลาที่มีปริมาณน้ำพอเหมาะพอดี เช่น ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี จะเห็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้ารูปหินหนึ่งไปออกทางรูหินอีกก้อนหนึ่งอย่างสวยงามแปลกตา

อ่างเก็บน้ำช่อระกา

อ่างเก็บน้ำช่อระกา

อ่างเก็บน้ำช่อระกา

เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของจังหวัด อยู่ที่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง ฯ เป็นแหล่งน้ำที่ส่งผลต่อการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่อยู่ใกล้ตัวจังหวัดที่สุด เป็นแหล่งน้ำที่นอกเหนือจากการเกษตร การประมงแล้ว ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของผู้ที่ผ่านไปมาด้วยบรรยากาศที่โล่งกว้าง มีสันอ่างที่สามารถเข้าไปเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจได้ทุกเย็น ทำให้มีผู้มาเที่ยวพักผ่อนกันเสมอ ในแต่ละช่วงเดือนแต่ละปีจะมีสภาพแวดล้อมสวยงามแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำในจุในอ่าง

อ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านเขว้า

อ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านเขว้า

อ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านเขว้า

หรือเรียกอีกชื่อว่าอ่างเก็บน้ำบาซ่าน หรือชลประทานบ้านห้วย ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านห้วย-หนองจันทิ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ดูแลรับผิดชอบโดยสำนักชลประทานที่ 6 ดูแลรับผิดชอบการจัดสรรน้ำสำหรับการเกษตรในพื้นที่โดยรอบจำนวน 300 ไร่ ปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงขุดลอกให้อ่างเก็บน้ำมีความจุเพิ่มขึ้น และปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้สะอาดร่มรื่น ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ละให้ชาวบ้านจับสัตว์น้ำเพื่อดำรงชีพได้อีกด้วย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว (ทุ่งกะมัง)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ตั้งอยู่บนเทือกเขาเพชรบูรณ์ เนื้อที่ 975,000 ไร่ (1,560 กม) ในเขตพื้นที่อำเภอคอนสาร อ.ภูเขียว อ.เกษตรสมบูรณ์ และ อ.หนองบัวแดง เป็นที่ราบบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด 1 ใน 5 แห่งของประเทศ และเป็นผืนป่าแห่งเดียวของภาคอีสานเป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังเหลือให้สัตว์ป่าได้อาศัยตามธรรมชาติอย่างปลอดภัย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จัดตั้งมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิได้เสนอกรมป่าไม้ให้จัดตั้ง ป่าภูเขียวเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ เนื่องจากป่าภูเขียวซึ่งเป็นป่าโครงการไม้กระยาเลยภูเขียวมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 ยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญและมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก อีกทั้งมีชาวบ้านเข้าไปยิงกระซู่ได้ 2 ตัวในปี พ.ศ. 2510 และ พ.ศ. 2513 ฝ่ายจัดการสัตว์ป่า กองบำรุง กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสภาพป่า สัตว์ป่า และความเหมาะสมต่าง ๆ พบว่ายังมีร่องรอยของกระซู่และสัตว์ป่าอีกหลายชนิด เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง เสือ กวาง เก้ง เลียงผา และนกชนิดต่าง ๆ สภาพป่ายังบริสุทธิ์และอยู่ในขั้นเตรียมการทำไม้ แต่มีราษฎรเข้าไปจับจองบุกรุกแผ้วถางป่าหลายแห่งในบริเวณทุ่งกะมัง ศาลาพรม หนองไรไก่ ภูดิน ปางม่วง และซำเตย และเตรียมที่จะบุกรุกเพิ่มมากขึ้น ในขณะนั้นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายังไม่เป็นที่รู้จักและมีเพียงแห่งเดียวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี จึงทำการดำเนินการประกาศป่าภูเขียวให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นไปด้วยความลำบาก จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าจนบรรลุผลสำเร็จโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 154 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2515 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 82 วันที่ 26 พฤษภาคม 2515 ให้ป่าภูเขียวเนื้อที่ 883,125 ไร่ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติให้ประกาศป่าภูเขียวเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นครั้งที่ 2 ควบคุมพื้นที่เพิ่มเติมเป็น 975,000 ไร่ ในปี 2526 มีการเตรียมการรับเสด็จและสร้างสำนักงานส่วนกลางทุ่งกะมังเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การก่อสร้างหน่วยพิทักษ์ป่าเพิ่มเติมในพื้นที่ล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลายหลายแห่ง ผลของการจัดฝึกอบรมเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทำให้งานป้องกันของป่าภูเขียวอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมที่ทุ่งกะมังเมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2526 และทรงตรวจเยี่ยมงานตามโครงการพระราชดำริในลักษณะต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงปล่อยสัตว์ป่า ณ ทุ่งกะมัง และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่มาถวายสัตย์ปฏิญาณตนที่จะไม่เข้าป่าล่าสัตว์ในป่าภูเขียวอีก พร้อมกับน้อมเกล้าฯ ถวายปืนล่าสัตว์จำนวนกว่า 1,200
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่าง ๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ ทุ่งกระมังเปิดให้เข้าชมเวลา 08.00–15.00 น. และจะไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริง ๆ

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนจุฬาภรณ์ หรือ เขื่อนน้ำพรม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนเป็นดินเหนียว สันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด ภายในบริเวณมีบ้านพักรับรองและเรือเช่าล่องชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำ
ลักษณะเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
เป็นเขื่อนประเภทหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียว บดอัดทับด้วยกรวดและหิน
มีความยาวตามสันเขื่อน ๗๐๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๘ เมตร ฐานกว้าง ๒๕๐ เมตร
ความสูงจากฐานราก ๗๐ เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำ ๑๘๘ ล้านลูกบาศก์เมตร
โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ตรงเชิงเขาใกล้กับลำน้ำสุ ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของตัวเขื่อน แล้วชักน้ำหน้าเขื่อนจากฝั่งซ้าย ของลำน้ำ โดยผ่านอุโมงค์ ซึ่งเจาะทะลุภูเขาไปหมุนเครื่องกังหันน้ำ ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาอีกด้านหนึ่ง ภายในโรงไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด ๒๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๒ ชุด
ลานไกไฟฟ้า ตั้งอยู่บริเวณข้างอาคารโรงไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับระบบสายส่ง ไฟฟ้า ขนาด ๑๑๕ กิโลวัตต์ จากเขื่อนไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูง ชุมแพ-ขอนแก่น ๑ ระยะทาง ๑๓๕ กิโลเมตร
โครงการน้ำพรมได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๑๓ แล้วเสร็จ สามารถจ่าย ไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ไปทรงเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๖ พร้อมทั้งได้พระราชทานพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ มาขนานนามชื่อเขื่อนว่า “เขื่อนจุฬาภรณ์”
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้สร้างเขื่อนขนาดเล็กชื่อ “เขื่อนพรมธารา” ขึ้นทางฝั่งซ้ายของเขื่อนจุฬาภรณ์ ห่างออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร เพื่อนำน้ำมาลงในอ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ได้เพิ่มขึ้น ปีละประมาณ ๒ ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนจุฬาภรณ์เป็นเขื่อนที่มีความสำคัญมากอีกเขื่อนหนึ่งต่อการ พัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการ ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังน้ำเฉลี่ยปีละ ๙๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณทุ่งเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนลงไปทางท้ายน้ำประมาณ ๖๐ กิโลเมตร

ผาหัวนาค

จุดชมวิวผาหัวนาค

จุดชมวิวผาหัวนาค

“จุดชมวิวผาหัวนาค” มอหินขาว จ.ชัยภูมิ ผาหัวนาค เป็นจุดสูงสุดของมอหินขาว ที่นี่เป็นลานหินขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยชะง่อนผาตลอดแนวสันเขา มีต้นไม้ขึ้นแซมๆ บริเวณรอยแยกของแผ่นหินเป็นระยะๆ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1500 เมตร มีลักษณะเป็นลานหินขนาดใหญ่ ที่บางคนเรียกว่า “ผากล้วยไม้” เพราะลานหินแห่งนี้เป็นหน้าผาที่เต็มไปด้วยกล้วยไม้ และดอกไม้ป่าขึ้นอยู่มากมายอาทิเอื้องหมายนา เอ้องม้าวิ่ง กระดุมเงิน โดยในช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่าง ก.ย.-ต.ค. กล้วยไม้ที่นี่จะออกดอกบานสะพรั่งให้สีสันสดใสอยู่ดาษดื่น ผาหัวนาคเป็นส่วนหนึ่งของ มอหินขาว อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จุดชมวิวที่สวยงาม ทั้งสูงและเสียว ชมทิวทัศน์ในความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 905 เมตร เป็นหน้าผาหินที่ยื่นออกไปเล็กน้อย พอให้ถ่ายรูปเล่นได้ ผาหัวนาคเป็นส่วนหนึ่งของมอหินขาว ใช้เส้นทางเดินทางเดียวกันกับมอหินขาวซึ่งเป็นทางราดยางตลอด ในฤดูฝนจะมีดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง และมีโอกาสได้เห็นทะเลหมอกในยามเช้า ผาหัวนาคอยู่ห่างจากมอหินขาวกลุ่มหินโขลงช้างประมาณ 4 กิโลเมตร สามารถมองเห็นวิวของเมืองที่ด้านล่างได้ ฝั่งตรงข้ามของผาหัวนาคคือเทือกเขาพังเหย บนเทือกเขาที่เป็นที่ตั้งของมอหินขาวมียอดเขาเป็นพื้นที่ลาดเอียง ฝั่งผาหัวนาคอยู่สูงกว่ามอหินขาวมาก จึงมองย้อนลงไปเส้นทางที่เรามาได้ชัดเจน จากมอหินขาวมาที่ผาหัวนาค รถใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที จึงเหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่คนมาเที่ยวจะได้ชมวิวทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในที่เดียวกัน

มอหินขาว

มอหินขาว

ดูดาวตกที่มอหินขาว

“มอหินขาว” เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน หมู่ 9 ต.ท่าหินโงม อ.เมือง เป็นกลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่กลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา มองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกล ลักษณะคล้ายสโตนเฮนจ์ ของประเทศอังกฤษ มีอายุระหว่าง 175-197 ล้านปี เกิดจากการสะสมตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวจากทางน้ำต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้นทับถมลงบนตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่เกิดก่อนจึงแข็งตัวกลายเป็นหิน หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบันซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ซึ่งจะมีกลุ่มหินทรายขาวที่เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายและดินเหนียวแข็งตัวกลายเป็นหิน ซึ่งหินยักษ์ที่ตั้งอยู่นี้มีความสูงประมาณ 12 เมตร ส่วนต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่า 22 คนโอบ หากนักท่องเที่ยวมาชมยามเช้ามืดจะมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นด้วยบรรยากาศที่สวยงาม


แสงเช้าที่มอหินขาว

หากเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวจะเหมาะแก่การขึ้นไปท่องเที่ยวมาก แต่ไม่เพียงแค่หินยักษ์ 5 ก้อนที่มอหินขาวเท่านั้น ถัดขึ้นไปบนภูอีกไม่เกิน 1 กิโลเมตร ผ่านจุดกางเต็นท์ของนักท่องเที่ยวขึ้นไปจะเป็นหินกลุ่มที่ 2 เรียกว่า หินเจดีย์และหินโขลงช้าง ต่อด้วยหินกลุ่มที่ 3 เรียกว่าหินต้นไทร ซึ่งจะเป็นหินที่มีลักษณะตามชื่อเรียกของหินที่กล่าวมา นอกจากนี้หากขับรถผ่านหินทั้ง 3 กลุ่มนี้ขึ้นไปอีก 500 เมตรจะเป็นจุดชมวิวชื่อว่าผาหัวนาค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 905 เมตร เหมาะขึ้นไปดูพระอาทิตย์ยามเย็น เพราะสามารถมองเห็นวิวด้านล่างซึ่งเป็นเมืองชัยภูมิอย่างชัดเจน
ในทุกปีช่วงที่มีอากาศหนาว จ.ชัยภูมิจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว มหัศจรรย์มอหินขาว รับลมหนาวที่ชัยภูมิ เพื่อเป็นการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผัสกับอากาศหนาวยามเช้า ชมพระอาทิตย์ตกดินและนอนดูดาว โดยในห้วงหน้าหนาวจะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้น หากมองจากมอหินขาวจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ส่วนการเดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวผามอหินขาวจาก ตัว จ.ชัยภูมิ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ-ตาดโตน เป็นทางลาดยางระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน ตามถนนตาดโตน-ท่าหินโงม เป็นทางลาดยางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายตามถนนแจ้งเจริญ-โสกเชือก เป็นทางลูกรัง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรถึงบ้านวังคำแคน จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน เป็นทางลูกรังใช้สำหรับขนพืชไร่อีกประมาณ 3.5 กิโลเมตรถึงกลุ่มหินชุดแรกของมอหินขาว รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรจากตัวเมือง

ก่อนแสงเช้าที่มอหินขาว

บึงละหาน

บึงละหาน

บึงละหาน

บึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย 18,181 ไร่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar Site) ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 บึงละหานจึงยังไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจึงมีการกำหนดจุดอนุรักษ์จำนวน 2 จุด คือบริเวณศาลเจ้าพ่อหาญคำและบริเวณวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ และขอความร่วมมือชาวประมงไม่ให้จับสัตว์น้ำในบริเวณจุดอนุรักษ์ดังกล่าว
บึงละหาน ครอบคลุมพื่นที่ 4 ตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตำบลละหาน ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ 29.09 ตารางกิโลเมตร (18,181 ไร่) สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 190 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ บึงละหานมีลักษณะเป็นที่ลุ่มคล้ายแอ่งกระทะเอียงไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณพื้นที่ทิศตะวันตกมีพื้นที่มากกว่าด้านอื่น
สภาพเดิม เป็นหนองน้ำหลายแห่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลเข้ามาจากลำห้วยต่างๆเช่น ห้วยลำคันฉู ห้วยหลัว ห้วยยาง ห้วยตาแก้ว เป็นต้น ทำให้ปริมาณน้ำในหนองเออเข้าหากันรวมเป็นหนองขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงละหาน ภายในบริเวณบึงมีเกาะที่เกิดจากน้ำท่วมไม่ถึงซึ่งชาวบ้านเรียกว่าโนน เช่น โนนจาน โนนงิ้ว และน้ำในบึงจะใหลลงแม่น้ำชีในที่สุด เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งน้ำในบึงจึงลดลงมากจนมีสภาพตื้นเขินสามารถนำปศุสัตว์ลงหากินและทำเกษตรได้ในบางพื้นที่
สภาพปัจจุบัน บึงละหาน ได้รับการพัฒนาให้มีคันดินล้อมรอบบริเวณบึง มีฝายน้ำล้นกักเก็บน้ำและมีประตูเปิดปิดน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงลำน้ำชีเร็วเกินไปเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงชาวจังหวัดชัยภูมิ เพื่อการเกษตร การประมง และเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่บึงละหาน บึงละหานจึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดทั้งปี ระดับน้ำลึกที่สุดประมาณ 1.5 – 4 เมตร และยังคงมีแกาะกลางน้ำที่น้ำท่วมไม่ถึงอยู่เช่นเดิม เกาะที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 0.3 ตารางกิโลเมตร (187.5 ไร่) มีป่าละเมาะขึ้นที่โดยรอบจะมีลักษณะเกาะจะค่อนข้างเรียบลักษณะดินโดยรอบเป็นดินที่ที่มีการทับถมของซากพืชจึงมีความอ่อนตัวของดิน จากสภาพเดิมของบึงละหานที่เป็นบึงน้ำตามธรรมชาติ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะเออเข้าท่วมหมู่บ้านโดยรอบเป็นประจำทุกปี
บึงละหานมีระบบนิเวศที่มีความสภาพสมบูรณ์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้มีนกหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพบอย่างน้อย 56 ชนิด นกประจำถิ่น 24 ชนิด นกน้ำและนกชายเลน 27 ชนิด นกอพยพแต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์ 29 ชนิดได้แก่ นกยางโทนน้อย นกยางโทนใหญ่ นกยางเปีย นกยางไฟธรรมดา นกยางไฟหัวดำ นกอพยพเพื่อการผมพันธ์ 1 ชนิด ได้แก่ นกแอ่นทุ่งใหญ่ นกอพยพตามฤดูกาล 1 ชนิด ได้แก่ นกแซงแซวหางปลา นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระแตหาง นกที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ได้แก่ นกกระแตผีใหญ่ นกที่พบมาก ได้แก่ นกนางแอ่นทุ่งใหญ่ เป็ดแดง
บึงละหานมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่และมีน้ำตลอดทั้งปี ทำให้ปลาสามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ดี พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ชนิดที่อยู่ในสภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุกด้าน ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน พบ 9 ชนิด ปลาในวงศ์ปลาหมอ พบ 3 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสลาด ปลาสูบจุด ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาช่อน (ข้อมูลอ้างอิงจาก Wikipedia)

ทุ่งดอกดาวเรือง

ทุ่งดอกดาวเรือง

ทุ่งดอกดาวเรือง อ.ภักดีชุมพล

ในพื้นที่ของตำบลแหลมทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ บริเวณก่อนถึงพุทธอุทยานหินเหิบซับภูทอง จ.ชัยภูมิ มีชาวบ้านที่ยังคงทำการเกษตรแบบดั้งเดิมให้พบเห็นได้มากมาย แต่ที่สะดุดตาผู้ที่สัฐญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะผู้ที่จะไปสักการะทำบุญที่พุทธอุทยานหินเหิบซับภูทองแล้วนั้น มักจะได้เห็นการปลูกดอกดาวเรืองเป็นทุ่งใหญ่จำนวนหลายทุ่งอย่างสวยงามอลังการ โดยเฉพาะมุมในภาพ เป็นทุ่งริมทางที่สามารถเก็บภาพทุ่งดอกดาวเรืองพร้อมด้วยวัดปราสาทดินที่อยู่ด้านหลังได้ด้วย

ป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

สายธารน้ำและป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

สายธารน้ำและป่าไม้อุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน

อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 23 ของประเทศ ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นลานหินกว้างใหญ่และสวยงาม มีแนวเทือกเขาที่เป็นหินปูนและหินดินดานในแนวเทือกเขาภูแลนคา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าเต็งรังที่เป็นต้นน้ำลำห้วย เป็นน้ำตกหลายแห่งที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเสมอ
อุทยานแห่งชาติตาดโตน ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงระหว่าง 200 – 945 เมตร จากระดับ น้ำทะเลปานกลาง ดังนั้น สภาพสังคมพืชจึงแตกต่างไปตามระดับความสูง พอจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาดโตน พบป่าชนิดนี้ขึ้นกระจัดกระจาย มีเนื้อที่ประมาณ 94.93 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ร้อยละ 43.71 ของพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ ความสูงของเรือนยอด ชั้นบนประมาณ 15 – 20 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญในชั้นนี้ ได้แก่ ยางพลวง รัง แดง ตะแบกเลือด มะกอกเกลื้อน ก่อแพะ และมะค่าแต้ ส่วนเรือนยอดในชั้นรอง มีไม้ขนาดเล็กมีความสูงประมาณ 5 – 10 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญในชั้นนี้ได้แก่ ชิงชัน ตาลเหลือง ยอเถื่อน กระท่อมหมู มะม่วงป่า ติ้วแดง และขว้าว ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ลูกไม้ของไม้ชั้นบนเป็นส่วนใหญ่ และหญ้าเพ็กขึ้นอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ชนิดอื่น เช่น กระดูกอึ่ง ลูกใต้ใบ เฟิร์น หมักหม้อ นางนวล กาวเครือ และหนอนตายหยาก เป็นต้น